การนอนมากไป เกิดผลเสียมากกว่าที่คุณคิดและนำไปสู่โรคร้ายได้

การนอนมากไป เกิดผลเสียมากกว่าที่คุณคิดและนำไปสู่โรคร้ายได้

ปัญหาของการนอน ไม่ได้มีเพียงแค่การนอนน้อยหรือนอนหลับไม่เพียงพอเท่านั้น แต่การนอนมากเกินไปก็เป็นอีกหนึ่งตัวปัญหาที่ทำร้ายร่างกายของคุณได้ ข้อเสียการนอนมากเกินไป เมื่อตื่นแล้วก็รู้สึกว่าต้องการนอนต่อไปอีก ระหว่างวันก็ต้องการงีบหลับหลาย ๆ ครั้ง หากพบมีอาการหรือมีคนใกล้ตัวที่มีอาการแบบนี้แนะนำควรรีบนำมาพบแพทย์เนื่องจากอาจส่งผลกระทบต่าง ๆ ตามมาได้

ข้อเสียของการนอนมากเกินไป

  1. เสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้า

มีอารมณ์แปรปรวน สมองทำงานแย่ลงเพราะสารแห่งความสุขจะผลิตน้อยลง ซึ่งเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้ามากกว่าคนที่นอนปกติถึง 49% ผู้ที่นอนหลับระหว่าง 7-9 ชั่วโมง มีโอกาสเสี่ยงในการเป็นโรคซึมเศร้าร้อยละ 27 ขณะที่ผู้ที่นอนหลับนาน 9 ชั่วโมงหรือมากกว่านั้นจะมีโอกาสเสี่ยงมากถึงร้อยละ 49

  1. สมองเบลอและความจำแย่

มองทำงานช้า ความคิดความอ่านก็จะช้า รู้สึกเฉื่อยชา กลายเป็นคนไร้เรี่ยวแรง ไม่มีชีวิตชีวา ไม่อยากขยับร่างกาย ทำให้กระดูกและกล้ามเนื้อไม่ค่อยถูกใช้งาน ซึ่งเป็นสาเหตุการเกิดโรคเกี่ยวกับกระดูกได้ มีการศึกษาในปี 2012 พบว่าหญิงชราที่นอนหลับมากเกินไปหรือน้อยเกินไปนานติดต่อกันมากกว่า 6 ปี สมองจะเสื่อมประสิทธิภาพในการทำงาน เช่นเดียวกับหญิงสาวซึ่งนอนหลับมากกว่า 9 ชั่วโมงหรือน้อยกว่า 5 ชั่วโมงก็จะมีสมองที่แก่เร็วกว่าปกติถึง 2 ปี 

  1. น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นและเสี่ยงโรคเบาหวาน

การนอนจะทำให้ระบบอาหารไม่ย่อย แม้จะกินน้อยแต่ระบบเผาผลาญไม่ทำงาน ร่างกายเริ่มสะสมไขมัน ซึ่งก่อให้เกิดโรคแทรกซ้อนได้ ไม่ว่าจะเป็น โรคหัวใจ ความดัน และเบาหวาน นักวิจัยพบว่าผู้ที่นอนหลับมากกว่า 8 ชั่วโมง จะมีโอกาสเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวานประเภท 2 มากกว่าผู้ที่นอนหลับระหว่าง 7-8 ชั่วโมง มากถึง 2 เท่า แม้ว่าจะมีการควบคุมการเปลี่ยนแปลงของมวลร่างกายแล้วก็ตาม

  1. เสี่ยงเสียชีวิตเร็ว

คนที่หลับง่ายและนอนนาน ๆ จะไม่ค่อยได้ขยับร่างกาย ส่งผลให้ออกซิเจนไม่ไปเลี้ยงร่างกาย ทำให้มีโอกาสเสียชีวิตเร็วกว่าคนที่นอนอย่างพอดีถึง 1.3%

เทคนิคการนอนหลับอย่างมีประสิทธิภาพ

นอนหลับได้ดีอย่างมีประสิทธิภาพ เข้านอนไม่เกิน 4 ทุ่มเพื่อให้ร่างกายได้รับฮอร์โมนดีๆ ต่างๆ ได้อย่างเต็มที่ซึ่งฮอร์โมนเหล่านี้จะช่วยให้หลับได้ดีรวมไปถึงทำให้ร่างกายมีการฟื้นฟูซ่อมแซมตัวเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ จัดห้องนอนให้โปร่ง อากาศระบายได้ดี ร่างกายที่ได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอจะทำให้สมองเซื่องซึม และง่วงนอนตลอดเวลา กำหนดตารางเข้านอน และตื่นนอนเวลาเดียวกันทุกๆ วัน ติดต่อกัน 28 วัน ร่างกายจะสร้างระบบนาฬิกาชีวิตของตัวเราเองขึ้นมาใหม่ จะตื่นได้เองอย่างสดชื่น