Tag Archives: โรคเบาหวาน

นวัตกรรมตรวจระดับน้ำตาลในเลือด ผู้ป่วยเบาหวานเลิกเจาะปลายนิ้วทุกวัน

ทราบกันดีว่าผู้ป่วยโรคเบาหวานต้องตรวจระดับน้ำตาลในเลือดทุกวัน โดยเจาะปลายนิ้วหยดเลือดลงบนแถบทดสอบของเครื่องตรวจน้ำตาลและอ่านค่าด้วยตนเองที่บ้าน ผู้ป่วยหลายคนคงโล่งใจที่ในอนาคตอันใกล้จะมีทางออกสำหรับคนกลัวเจ็บ นั่นคือนวัตกรรมเครื่องตรวจคลื่นหัวใจชนิดสวมใส่ได้ อาจมาแทนที่การทดสอบเลือดจากปลายนิ้วมือ เพื่อติดตามระดับน้ำตาลในเลือด โดยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ช่วยให้ตรวจระดับน้ำตาลในเลือดได้แบบไม่ต้องเจ็บเนื้อเจ็บตัวอีกต่อไป

ทำไมถึงต้องต้องเจาะเลือดที่ปลายนิ้ว

เหตุผลของการเจาะเลือดปลายนิ้วตรวจเลือดหาระดับน้ำตาลที่ปลายนิ้วเพื่อหาแนวโน้มที่ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำหรือสูงเกินควร ซึ่งเป็นอันตรายต่อผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีความเสี่ยงอันตรายต่อสุขภาพ โดยเฉพาะผู้เป็นเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์ เมื่อรู้สภาวะร่างกายของตัวเองจะง่ายในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมช่วยควบคุมเบาหวานให้ดีขึ้น อย่างไรก็ตาม แม้จะเป็นการเจาะหลอดเลือดแดงฝอย แต่ไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับหลายคนที่กลัวเข็ม บางคนนิ้วระบมไปหมด แต่ก็ยังต้องตรวจเลือดเป็นประจำเพื่อสามารถดูแลตัวเองให้ดี

ไม่นานมานี้ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยวอร์วิกในอังกฤษได้พัฒนาระบบเซนเซอร์ด้วยปัญญาประดิษฐ์ที่ตรวจจับระดับน้ำตาลในเลือดเพื่อเตือนสัญญาณอันตรายจากภาวะน้ำตาลต่ำ เพิ่มความมั่นใจให้ผู้ป่วยและมีแรงจูงใจที่จะดูแลตัวเองให้ดีขึ้น เทคโนโลยีใหม่ไม่ต้องเจาะเลือดปลายนิ้ว แต่ดูจากเครื่องวัดการเต้นของหัวใจของผู้ป่วยแทน วิธีการคือใช้ข้อมูลคลื่นไฟฟ้าหัวใจของผู้ป่วยเป็นต้นแบบให้ระบบคอมพิวเตอร์จดจำและอ่านค่าน้ำตาลปกติของผู้ป่วย เพื่อดูแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำตาล สามารถประเมินอาการที่บ่งบอกว่ามีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำหรือสูงในขณะนั้น

ทั้งนี้ การตรวจเลือดวันละ 2 ครั้งมีความสำคัญมาก จะช่วยให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานควบคุมน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ดีและป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานเกิดภาวะฉุกเฉินที่มีอาการใจสั่น ชัก และโคม่า เสี่ยงอันตรายถึงชีวิตหากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที

ขณะนี้การทดสอบระบบเซนเซอร์ตรวจจับคลื่นไฟฟ้าหัวใจเพื่อวัดระดับน้ำตาลในเลือดโดยอัตโนมัติใช้ได้ผลในเบื้องต้น เทคโนโลยีมีความน่าเชื่อถือถึง 82% แต่ยังต้องมีการศึกษาวิจัยและทดสอบประสิทธิผลก่อนจะนำมาใช้จริง นวัตกรรมเครื่องตรวจระดับน้ำตาลใช้แทนที่เข็มเจาะเลือดปลายนิ้วจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับผู้ป่วยวัยเด็ก ถึงจะอายุน้อยก็ป่วยเป็นโรคเบาหวานได้

การรักษาเบาหวานชนิดที่ 1 จำเป็นต้องเจาะเลือดปลายนิ้ววันละ 2-4 ครั้ง ร่วมกับการฉีดฮอร์โมนอินซูลินวันละ 3-4 ครั้ง ส่วนเบาหวานชนิดที่ 2 โชคดีกว่าเพราะแค่รับประทานยากระตุ้นการทำงานของฮอร์โมนอินซูลิน หากไม่ได้รับการรักษาอาจส่งผลให้ร่างกายอ่อนเพลีย ขาดสารอาหาร ไตเสื่อม จอประสาทตาเสื่อม หรืออาการรุนแรงที่อาจเกิดอันตรายขึ้นได้

นวัตกรรมเทคโนโลยีเซนเซอร์คลื่นหัวใจจึงเป็นทางเลือกใหม่สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน ทีมนักวิทยาศาสตร์กำลังพัฒนาปัญญาประดิษฐ์เพื่อที่จะปรับให้ใช้งานได้ทุกสถานการณ์ แม้กระทั่งตอนนอนหลับ ไม่ต้องเจ็บปวดกับการเจาะเลือดปลายนิ้วมืออีกต่อไป

นวัตกรรมตรวจระดับน้ำตาลในเลือด ผู้ป่วยเบาหวานเลิกเจาะปลายนิ้วทุกวัน

น้ำตาล ภัยร้ายที่มาพร้อมกับความหวาน

น้ำตาล ภัยร้ายที่มาพร้อมกับความหวาน

ในชีวิตประจำวันของคนเรา ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าเราบริโภคน้ำตาลแทบทุกวันเพื่อใช้กับพลังงานในร่างกาย น้ำตาลอยู่ในส่วนผสมของสิ่งที่เรารับประทานเข้าไปไม่ว่าจะเป็นอาหาร ของหวานล้วนมีน้ำตาลเป็นส่วนผสมด้วยกันทั้งนั้น โดยที่ไม่รู้เลยว่าน้ำตาลที่เราได้รับในแต่ละวันนั้นเพียงพอหรือเกินความจำเป็นต่อร่างกายหรือไม่

ในพฤติกรรมของคนที่หันมาบริโภคเครื่องดื่มเพื่อชูกำลังหรือตามไลฟ์สไตล์ของความนิยมที่มากขึ้นคนวัยทำงาน ซึ่งเมนูที่บริโภคมากที่สุดได้แก่ น้ำอัดลม ชานมไข่มุก กาแฟ ที่พ่วงมาด้วยของหวานเพื่อความเพลิดเพลิดได้อรรถรสในการรับประทาน โดยหารู้ไม่ว่านั่นคือที่มาของโรคต่าง ๆ และส่งผลต่อร่างกายได้ในอนาคต สิ่งที่เราควรรู้ก็คือการรับประทานรสชาติหวานที่พอเหมาะต่อความจำเป็นของร่างกาย

ประเภทของน้ำตาล

น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว ได้แก่ กลูโคส ฟรุกโตส และกาแลกโตส

น้ำตาลโมเลกุลคู่ ได้แก่ มอลโตส ซูโครส (น้ำตาลทราย) และน้ำตาลแลคโตส

ปริมาณที่เหมาะสมสำหรับร่างกายควรได้รับ

สาเหตุหนึ่งที่ทำให้คนเรามีน้ำหนักเพิ่มขึ้น เกิดโรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคหัวใจขาดเลือดที่ตามมา เกิดจากการบริโภคน้ำตาลมากเกินความจำเป็นที่ร่างกายควรได้รับต่อวัน ปริมาณที่คนเราควรได้รับต่อวันอยู่ที่ 6 ช้อนชาต่อวัน หรือ ปริมาณ 24 กรัม ต่อวัน

สารอาหารหลักที่ทำให้เกิดระดับน้ำตาลในเลือด

สารอาหารที่ทำให้เกิดน้ำตาลในเลือดสูงมาจากการที่คนเราบริโภคอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตปริมาณมากเกินกว่าที่ร่างกายต้องการ คาร์โบไฮเดรตมาจาก ข้าว ผักบางชนิด ผลไม้ ธัญพืช เป็นต้น

หากรับประทานเกินความจำเป็นจะส่งผลต่อร่างกายอย่างไร

น้ำหนักเพิ่มขึ้นทำให้สูญเสียบุคลิกภาพที่ดี เมื่อรับประทานน้ำตาลมากเกินไปก็จะทำให้เกิดความหิวอย่างอื่นตามมา อาจทำให้ร่างกายเสพติดความหวานซึ่งเกินความจำเป็นทำให้อ้วนได้ง่าย เมื่อมีไขมันสะสมในร่างกายตามหน้าท้องมาก ก็จะส่งผลให้เกิดภาวะดื้อต่ออินซูลิน ทำให้ตับอ่อนต้องทำงานมากขึ้นในการผลิตอินซูลินออกมามากกว่าที่ควร เมื่อนานวันเข้าจะไม่สามารถผลิตอินซูลินได้เพียงพอ ก็จะเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูง เกิดเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้

ทำให้ใบหน้าแก่ก่อนวัย เมื่อร่างกายได้รับน้ำตาลมากเกินไปทำให้คอลลาเจนในร่างกายถูกทำลาย ก่อเกิดมาจากปฏิกิริยาของร่างกายทำให้ใบหน้าเกิดริ้วรอยที่เป็นที่มาของใบหน้าที่แก่เกินวัย

ทำให้เซลล์ในร่างกายเสื่อมสภาพได้ โครงสร้างส่วนปลายสุดของโครโมโซมมีส่วนที่เรียกว่าเทโลเมียร์ เมื่อรับประทานรสชาติหวานมากเกินไป ส่วนของโคโมโซมจะหดสั้นลงทำให้เซลล์ในร่างกายเสื่อมสภาพลงเร็วกว่าปกติหากรับประทานรสหวานมากเกินไป

ในการรับประทานน้ำตาล เครื่องดื่มหรืออาหารที่มีรสชาติหวาน ควรที่จะดูปริมาณของน้ำตาลเพื่อรับประทานให้เหมาะสมโดยไม่มากจนเกินไปเพราะจะส่งผลต่อการทำงานของร่างกาย ทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ตามมารวมถึงทำให้แก่ก่อนวัยและน้ำหนักที่มากขึ้นกลายเป็นโรคอ้วนและโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้

สารอาหารหลักที่ทำให้เกิดระดับน้ำตาลในเลือด